วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วิธีติดตั้ง OpenLDAP บน OpenBSD 4.1

วันนี้ลองลง OpenLDAP ครับจะเอาไปใช้กะ Project จบนิดหน่อย เริ่มกันเลย

1.) Download OpenLDAPจาก site : ftp://ftp.dti.ad.jp/pub/net/OpenLDAP/openldap-stable/openldap-stable-20070110.tgz

ผมดาวน์โหลดไปไว้ใน /root/Download

2.) tar zxvf openldap-stable-20070110.tgz

3.) cd openldap-2.3.32

4.) ./configure --prefix=/usr/local/openldap

เจอปัญหา

checking for Berkeley DB link (default)... yes
checking for Berkeley DB version match... yes
checking for Berkeley DB thread support... no
checking Berkeley DB version for BDB backend... no
configure: error: BDB/HDB: BerkeleyDB version incompatible

error นิดหน่อยไป search จึงได้คำตอบว่าต้องกำหนดตัวแปรนิดหน่อย

export CPPFLAGS="-I/usr/local/include/db4" LDFLAGS="-L/usr/local/lib/db4"

5.) กลับมา ./configure --prefix=/usr/local/openldap ใหม่อีกรอบผ่านหมดครับ

6.) make ก็ผ่านหมดรับ

7.) make depend ก็ผ่านเช่นกัน

8.) make install จบแบบ happy ending

ทุกอย่างผ่านหมดแล้ว ที่เหลือคือใช้ยังไงหง่ะ ใครช่วยตอบผมที T_T

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การ Search หาชื่อโปรแกรมที่ต้องการใน Ports

ก่อนนอนอีกนิด วันนี้จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับ FreeBSD มั้ง ที่จริงผมชอบเจ้า FreeBSD มากแต่ด้วยเหตุผลบางประการจึงไม่ได้ใช้งานมันจริงๆ จังๆ สักทีนี่ก็หลายเดือนแล้วที่ไม่ได้เล่นมันเลย วันนี้เลยจะมาเขียนเตือนความจำตัวเองกันสักหน่อย

เคยกันบ้างไหมครับ บางทีคิดจะติดตั้งโปรแกรมสักตัวจาก ports แต่ไม่รู้ว่ามันหลบซ่อนอยู่ที่ไหนเพราะ ports มี category เยอะมากเดาใจกันไม่ถูกวันนี้เลยเอาวิธีง่ายสำหรับ search หาโปรแกรมที่ต้องการ

สำหรับคำสั่งก็สั้นๆ ง่ายๆ ครับบรรทัดเดียวเอง

1. ขั้นแรกเราต้องเข้าไปใน /usr/ports ก่อน

2. คำสั่งสำหรับ search คือ

#make search key="packages_name"

ตัวอย่างเช่น ผมต้องการติดตั้ง mrtg ผมก็สั่ง

#make search key="mrtg"
Port: mrtg-2.13.2,1
Path: /usr/ports/net-mgmt/mrtg
Info: The multi-router traffic grapher
Maint: demon@FreeBSD.org
B-deps: freetype2-2.1.10_3 gd-2.0.33_4,1 jpeg-6b_4 perl-5.8.8 pkgconfig-0.20 png-1.2.8_3
R-deps: freetype2-2.1.10_3 gd-2.0.33_4,1 jpeg-6b_4 p5-PathTools-3.16 p5-Pod-Parser-1.34 p5-SNMP_Session-1.08 p5-Scalar-List-Utils-1.18,1 perl-5.8.8 pkgconfig-0.20 png-1.2.8_3
WWW: http://www.mrtg.org/

ซึ่งผลที่ได้จริงๆ อาจมีเยอะหน่อย ก็ต้องมานั่งไล่ดูกันนิดนึงน่ะครับ

เท่านี้ผมก็รู้แล้วว่า mrtg อยู่ที่

/usr/ports/net-mgmt/mrtg

ที่นี้ผมก็เข้าไปใน /usr/ports/net-mgmt/mrtg แล้ว make install clean เพื่อติดตั้งได้แล้ว

ติดตั้ง apt-get บน Fedora Core 6

apt เป็นโปรแกรมจัดการ packages ชนิดนึง เดิมมีใช้ในเฉพาะบน linux ค่าย debian แต่ได้มีการพัฒนาให้สามารถใช้งานบน Fedora ได้แล้ว ซึ่งปกติแล้ว Fedora จะใช้โปรแกรม yum ในการจัดการ packages จากประสบการณ์ใช้งานจริงของผม ผมคิดว่า apt นั้นมีความสามารถในการจัดการ packages ได้ดีกว่า yum มาก สามารถค้นหาชื่อ packages ,ติดตั้งและถอนการติดตั้ง packages ได้ง่ายกว่า รวมไปถึงการ update,upgrade packages ด้วย

การติดตั้ง apt

1. ติดตั้ง apt ด้วย yum

#yum install apt

2. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้สั่ง update

#apt-get update

มันจะทำการติดต่อกับ server และดาวน์โหลดรายการ update มาไว้ในเครื่อง

3. เมื่อสั่ง update ไปแล้วก็มา upgrade กันเลย

#apt-get upgrade

ถ้าหากการ update มีรายการ packages ที่ update version หรือมี patch แก้ไข การ upgrade จะดาวน์โหลด packages ใหม่ๆ มาติดตั้งให้เรา

4. การค้นหาชื่อ packages ที่ต้องการ เช่น ผมต้องการติดตั้ง Webalizer

# apt-cache search webalizer
webalizer - A flexible Web server log file analysis program.

มันก็จะไปหาชื่อ packages ที่เราต้องและแสดงเป็น list ให้เรา

5. การติดตั้ง packages เช่น

#apt-get install webalizer

6. การถอนการติดตั้ง packages เช่น

#apt-get remove webalizer

ง่ายดีใช่ไหมครับ ลองทำกันดูครับ

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การ Configure MRTG (Multi Router Traffic Grapher)

กรณีศึกษาใช้ Fedora Core 6
ก่อนการติดตั้ง mrtg ต้องติดตั้ง service snmp ก่อน

การติดตั้ง SNMP

1. ติดตั้ง snmp

yum install net-snmp net-snmp-utils net-snmp-devel

2. เมื่อติดตั้ง snmp ได้แล้วจะได้ไฟล์ /etc/snmp/snmpd.conf ให้ทำการเพิ่มบรรทัดด่อไปนี้เข้าไป

view systemview included .1

ตัวอย่าง
# Make at least snmpwalk -v 1 localhost -c public system fast again.
# name incl/excl subtree mask(optional)
view systemview included .1.3.6.1.2.1.1
view systemview included .1.3.6.1.2.1.25.1.1
view systemview included .1 #เพิ่มบรรทัดนี้เข้าไป

3. สั่งให้ snmpd ทำงานทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่องด้วยคำสั่ง

chkconfig snmpd on

4. เช็คว่า snmpd ทำงานอยู่หรือเปล่าด้วยคำสั่ง

/etc/init.d/snmpd status #เช็คสถานะของ snmpd
/etc/init.d/snmpd start # start snmpd
/etc/init.d/snmpd restart # restart snmpd

5. ทดสอบ snmpd ด้วยคำสั่ง snmpwalk

snmpwalk -v 1 localhost -c public system

จะมี responds กลับมาประมาณด้านล่าง

[root@eng ~]# snmpwalk -v 1 localhost -c public system
SNMPv2-MIB::sysDescr.0 = STRING: Linux eng.ru.ac.th 2.6.9-55.ELsmp #1 SMP Wed May 2 14:28:44 EDT 2007 i686
SNMPv2-MIB::sysObjectID.0 = OID: NET-SNMP-MIB::netSnmpAgentOIDs.10
DISMAN-EVENT-MIB::sysUpTimeInstance = Timeticks: (960677) 2:40:06.77
SNMPv2-MIB::sysContact.0 = STRING: Mr.Montree Phomkam
SNMPv2-MIB::sysName.0 = STRING: eng.ru.ac.th
SNMPv2-MIB::sysLocation.0 = STRING: Faculty Of Engineering,Ramkhamhaeng University
SNMPv2-MIB::sysORLastChange.0 = Timeticks: (6) 0:00:00.06
.....................

จบ snmpd

การติดตั้ง MRTG

1. ติดตั้ง mrtg ด้วยคำสั่ง

yum install mrtg

หรือ

apt-get install mrtg

จะได้

/var/www/mrtg และ /etc/mrtg

2. แก้ไขไฟล์ /etc/httpd/conf.d/mrtg.conf
<Location /mrtg>
Order deny,allow
Deny from all
#Allow from 127.0.0.1 #ใส่ comment หน้าบรรทัดนี้
Allow from all
# Allow from .example.com
</Location>


3. สั่ง restart httpd

/etc/init.d/httpd restart

เปิด browser แล้วลองเข้า http://192.168.200.210/mrtg

4.มาเริ่มสร้างไฟล์ config โดยในตัวอย่างจะเป็นการจับ Traffic ของ Server ที่เป็น localhost สั่ง

ตั้งค่า locale ไม่ให้เป็น utf-8 ด้วยคำสั่ง

export LANG=en_US <<สำคัญมากอย่าลืมพิมพ์

echo "export LANG=en_US" >> /etc/rc.local

ให้ทุกครั้งที่เปิดเครื่องจะได้ export LANG=en_US ทุกครั้ง สร้าง directory สำหรับเก็บไฟล์ของ

mrtg mkdir /var/www/mrtg/traffic

สั่งสร้างไฟล์ config ด้วยคำสั่ง

cfgmaker -global "options[_]:bits,growright" --global "workdir: /var/www/mrtg/traffic" public@localhost > /etc/mrtg/traffic.cfg

*****มาเข้าใจโครงสร้างของ cfgmaker

"options[_]:bits,growright" << ส่วนนี้โดยปกติถ้าไม่กำหนดจะมันจะสร้างกราฟจากซ้ายไปขวาซึ่งทำให้ดูยาก จึงกำหนด growright เพื่อให้สร้างกราฟจากด้านขวาไปซ้าย ซึ่งแทน

"workdir: /var/www/mrtg/traffic" << ตรงส่วนนี้หมายถึงตำแหน่งที่เราต้องการจะเก็บไฟล์ .html กับกราฟที่เป็น .png ซึ่งก็คือ Directory ที่เราต้องการจะเก็บเว็ป mrtg นั้นเอง

"public@localhost" <<ส่วนนี้หมายถึง service name ของ snmp โดยปกติจะเป็น public ส่วน localhost หมายถึงกำหนดให้เป็นเครื่องตัวเองหรืออาจใส่ 127.0.0.1 ก็ได้

"> /etc/mrtg/traffic.cfg" << ตรงส่วนนี้เป็นการ redirection output เพื่อไปเขียนไฟล์ config ซึ่งระบบเป็น /etc/mrtg/traffic.cfg ก็หมายถึงให้สร้างไฟล์ชื่อ traffic.cfg ใน /etc/mrtg นั้นเอง

เมื่อสั่งคำสั่งด้านบนไปแล้วเราจะได้ไฟล์ /etc/mrtg/traffic.cfg มา

cat /etc/mrtg/traffic.cfg ก็จะแสดงรายละเอียดของไฟล์ออกมา

5. สั่งให้ mrtg สร้าง html และ graph มีโครงสร้างดังนี้

/usr/bin/mrtg /where/your/config/file << ตามด้วยที่อยู่ของไฟล์ config ตัวอย่าง

/usr/bin/mrtg /etc/mrtg/traffic.cfg

เมื่อสั่งไปแล้วจะมีข้อความแจ้ง warning นิดหน่อเพราะมันไม่สามารถเขียนทับไฟล์เก่าได้เนื่องจากเราสั่งเป็นครั้งแรก สั่งคำสั่งเดิมซ้ำอีก 2 รอบ warning ก็จะหายไป
ซึ่งตอนเราสร้างไฟล์ config เราได้กำหนด workdir เป็น /var/www/mrtg/traffic หลังจากสั่ง /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/traffic.cfg ไปแล้วมันก็จะสร้างไฟล์ .html กับ .png ให้ซึ่งอยู่ใน /var/www/mrtg/traffic

ls -al /var/www/mrtg/traffic
-rw-r--r-- 1 root root 1592 Feb 15 21:15 localhost_2-day.png
-rw-r--r-- 1 root root 6546 Feb 15 21:15 localhost_2.html
-rw-r--r-- 1 root root 48211 Feb 15 21:15 localhost_2.log

ทดลองเรียก

http://202.41.164.210/mrtg/traffic/localhost_2.html

ก็จะแสดงกราฟออกมา ซึ่งจะยังไม่มีเส้นเพราะเพิ่งสร้างเป็นครั้งแรก การเรียก url แบบนี้หลายๆ ครั้งคงจำกันลำบาก ต่อไปเรามาสร้าง index ไฟล์เพื่อให้เรียกดูง่ายๆ กันโดยสั่ง

indexmaker --column=1 --output=/var/www/mrtg/traffic/index.html /etc/mrtg/traffic.cfg

มาเข้าใจโครงสร้างของ indexmaker กัน

"--column=1 " << ส่วนนี้คือจำนวนคอลัมน์ของกราฟที่ต้องการแสดง

"--output=/var/www/mrtg/traffic/index.html" << "/var/www/mrtg/traffic/" คือตำแหน่งที่เราจำสร้าง index.html นั้นเอง

"/etc/mrtg/traffic.cfg" <<คือตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ config ทีนี้ลองเปิดดูกราฟใหม่โดยเรียก

http://192.168.200.210/mrtg/traffic

มันจะ index หน้ากราฟมาให้เราดูโดยที่เราไม่ต้องกรอกชื่อเต็มๆ ของกราฟตัวนั้น ซึ่งเรามาสามารถคลิกที่รูปกราฟเพื่อดูรายละเอียดได้ สังเกตได้ว่ากราฟที่เราเปิดดูจะยังไม่มีเส้นแสดงรายละเอียดนั้นเป็นเพราะเราเพิ่งสร้างกราฟนั้นเป็นครั้งแรก

ต่อไปก็มาตั้งเวลาให้ mrtg สร้างกราฟให้เราทุกๆ 5 นาทีโดยใช้ crontab เข้ามาช่วยซึ่งโดยปกติ crond จะเป็น service ที่ start เองเมื่อเราเปิดเครื่องอยู่แล้วแต่เพื่อกันความผิดพลาดก่อนอื่นลองมาตรวจสอบว่า crond ได้ทำงานอยู่หรือไม่

/etc/init.d/crond status

ถ้าหากมันรายงาน pid ก็แสดงว่า crond ทำงานอยู่ ต่อไปมาสร้างตารางเวลาให้ mrtg ทำงานทุกๆ 5 นาที

crontab -e

มันจะเปิดหน้าจอ vi มาให้เรากด i แล้วพิมพ์บรรทัดต่อไปนี้เข้าไป

*/5 * * * * /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/traffic.cfg

พิมพ์เสร็จแล้วกด esc ตามด้วย :wq เพื่อ save และออกจาก cronedit ดูรายละเอียดที่เราพิมพ์ไปเมื่อกี้ด้วยคำสั่ง

crontab -l

จะแสดงรายละเอียดของงานทั้งหมดที่ตั้งไว้ใน crontab สั่งให้ crond เริ่มทำงานใหม่ด้วย

/etc/init.d/crond restart

ดังนั้นทุกๆ 5 นาที mrtg จะสร้างกราฟให้เราใหม่ซึ่งก็จะทำให้กราฟมีเส้นที่แสดงอย่างต่อเนื่อง เปิด
browser : http://192.168.200.210/mrtg/traffic/index.html มันจะ refresh ตัวเองทุกๆ 5 นาที

#################################################################
ตัวอย่างการใช้ mrtg ตรวจสอบการทำงานของ cpu
ให้สร้างไฟล์ /etc/mrtg/cpu.cfg โดยมีรายละเอียดดังนี้

WorkDir: /var/www/mrtg/traffic
LoadMIBs: /usr/share/snmp/mibs/UCD-SNMP-MIB.txt
Target[myhost-cpu]:ssCpuIdle.0&laLoadInt.1:public@localhost
RouterUptime[myhost-cpu]: public@localhost
MaxBytes[myhost-cpu]: 10000
Title[myhost-cpu]: Idle CPU and Load average
PageTop[myhost-cpu]: <H1>Idle CPU and Load average</H1>
ShortLegend[myhost-cpu]: %
YLegend[myhost-cpu]: CPU and Load Utilization
Legend1[myhost-cpu]: Idle CPU
Legend2[myhost-cpu]: Load average
LegendI[myhost-cpu]: Idle
LegendO[myhost-cpu]: Load
Options[myhost-cpu]: gauge, nopercent, growright

ตัวอย่างการใช้ mrtg ตรวจสอบการใช้งาน memory
ให้สร้างไฟล์ /etc/mrtg/mem.cfg โดยมีรายละเอียดดังนี้

LoadMIBs: /usr/share/snmp/mibs/HOST-RESOURCES-MIB.txt
Target[localhost.mem]: .1.3.6.1.4.1.2021.4.6.0&.1.3.6.1.4.1.2021.4.6.0:public@localhost
PageTop[localhost.mem]:<H1>Memory</H1>
WorkDir: /var/www/mrtg/traffic/
Options[localhost.mem]: nopercent,growright,gauge,noinfo
Title[localhost.mem]: Free Memory
MaxBytes[localhost.mem]: 1000000
KMG[localhost.mem]: k,M,G,T,P,X
YLegend[localhost.mem]: bytes
ShortLegend[localhost.mem]: bytes
LegendI[localhost.mem]: Free Memory:
LegendO[localhost.mem]:
Legend1[localhost.mem]: Free memory, not including swap, in bytes

ตัวอย่างการใช้ mrtg ตรวจสอบ tcp connection
ให้สร้างไฟล์ /etc/mrtg/tcp.cfg โดยมีรายละเอียดดังนี้

WorkDir: /var/www/mrtg/traffic/
LoadMIBs: /usr/share/snmp/mibs/TCP-MIB.txt
Target[myhost-tcpestab]: tcpCurrEstab.0&tcpCurrEstab.0:public@localhost
RouterUptime[myhost-tcpestab]: public@localhost
MaxBytes[myhost-tcpestab]: 1000000
Title[myhost-tcpestab]: TCP Current Establish
PageTop[myhost-tcpestab]: <H1>TCP Current Establish </H1>
ShortLegend[myhost-tcpestab]: conns
YLegend[myhost-tcpestab]: conns
LegendI[myhost-tcpestab]: Current:
LegendO[myhost-tcpestab]:
Legend1[myhost-tcpestab]: Current, numbers of connections
Legend2[myhost-tcpestab]:
Options[myhost-tcpestab]: nopercent, growright, gauge

ตัวอย่างการใช้ mrtg ตรวจสอบ uptime
ให้สร้างไฟล์ /etc/mrtg/uptime.cfg โดยมีรายละเอียดดังนี้

WorkDir: /var/www/mrtg/traffic/
Target[server-uptime]: `/etc/mrtg/mrtg_uptime.pl`
Colours[server-uptime]: LIGHT BLUE#7AAFFF,BLUE#1000FF,DARK GREEN#006000,VIOLET#FF00FF
Options[server-uptime]: gauge,noinfo, nopercent, growright, unknaszero
MaxBytes[server-uptime]: 200
Title[server-uptime]: server uptime
YLegend[server-uptime]: Days
ShortLegend[server-uptime]: Days
Legend1[server-uptime]: Uptime
Legend2[server-uptime]:
LegendI[server-uptime]:
LegendO[server-uptime]: uptime :
PageTop[server-uptime]:<H1>Uptime in days</H1>

และสร้างไฟล์ /etc/mrtg/mrtg_uptime.pl โดยมีรายละเอียดดังนี้

#!/usr/bin/perl
#Affichage de l'uptime en nombre de jours pour MRTG
$uptime = `uptime`;
$uptime =~ /up (.*?) day/;
$up = int($1);
print "$up\n";
print "$up\n";

จากนั้น chmod 7777 /etc/mrtg/mrtg_uptime.pl
อย่าลืมเพิ่มคำสั่งใน crontab ด้วย

crontab -e

*/5 * * * * /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/traffic.cfg
*/5 * * * * /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/cpu.cfg
*/5 * * * * /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/mem.cfg
*/5 * * * * /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/tcp.cfg
*/5 * * * * /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/uptime.cfg


การสั่งให้สร้างหน้า index ให้มีกราฟหลายๆ รูปทำได้ดังนี้

indexmaker --column=2 --output=/var/www/mrtg/traffic/index.html /etc/mrtg/traffic.cfg /etc/mrtg/cpu.cfg /etc/mrtg/mem.cfg /etc/mrtg/tcp.cfg /etc/mrtg/uptime.cfg

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การติดตั้ง Java SDK 1.6 และ Apache Ant 1.7 บน CentOS 4,Fedora Core (4-6)

สวัสดีครับ วันนี้นำเรื่องการติดตั้ง Java SDK กับ Apache Ant มาฝากกัน ก็เป็นการติดตั้งแบบง่ายๆ ไม่มีอะไรยุ่งยากน่ะครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่า

การติดตั้ง Java

1. ขั้นแรกเราต้องดาวน์โหลด Java SDK มาจากเว็ปไซต์http://java.sun.com/javase/downloads/index.jsp ผมดาวน์โหลดเป็น .bin มาน่ะครับ

2. upload .bin ที่ดาวน์โหลดมาไปไว้ใน /usr/lib/jvm เมื่อ upload เสร็จจะได้ /usr/lib/jvm/jdk-6u1-linux-i586.bin

3. extract ไฟล์ /usr/lib/jvm/jdk-6u1-linux-i586.bin

#cd /usr/lib/jvm
#chmod +x jdk-6u1-linux-i586.bin
#./jdk-6u1-linux-i586.bin
#rm -rf jdk-6u1-linux-i586.bin

4. เราก็จะได้ /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_01/

5. ทำการสร้าง symbolic link ไว้ที่ /etc/alternatives

#ln -s /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_01/bin/java /etc/alternatives/java
ln: `/etc/alternatives/java': File exists << แสดงว่าเครื่องเรามี java ติดตั้งอยู่

วิธีแก้ปัญหานี้ให้ลบ symbolic link เก่าออกก็ใช้ได้แล้วครับ

#rm -rf /etc/alternatives/java

แล้วสั่งสร้าง symbolic link ใหม่อีกที

#ln -s /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_01/bin/java /etc/alternatives/java

6. สร้าง symbolic link ไว้ใน /usr/bin/java เพื่อสะดวกในการใช้งาน

#ln -s /etc/alternatives/java /usr/bin/java

ถ้ามันมี error แสดงขึ้นมาว่า
ln: `/usr/bin/java': File exists ก็ไม่ต้องสนใจมันครับแสดงว่ามีการทำ link ไว้แล้ว

ทดลองสั่ง
#java -version
java version "1.6.0_01"
Java(TM) SE Runtime Environment (build 1.6.0_01-b06)
Java HotSpot(TM) Client VM (build 1.6.0_01-b06, mixed mode, sharing)

ติดตั้ง Java SDK 1.6 สำเร็จแล้ว

การ Setup JAVA_HOME

1. สร้าง symbolic link ที่ใช้ไปยังไดเร็กทอรีที่ติดตั้ง Java ให้กับ JAVA_HOME

#ln -s /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_01 /etc/alternatives/jdk

ทดสอบ

#ls -al จะแสดงรายละเอียดเหมือนกับ /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_01

2. กำหนดตัวแปรโกลบอล JAVA_HOME

#nano /etc/profile

เพิ่ม 2 บรรทัดต่อไปนี้เข้าไปไว้บรรทัดสุดท้าย

export JAVA_HOME="/etc/alternatives/jdk"
export PATH="$PATH:$JAVA_HOME/bin"

3. logout ออกจากระบบ แล้วลอง login เข้ามาในระบบใหม่ จากนั้นสั่ง

#echo $JAVA_HOME จะได้
/etc/alternatives/jdk

เป็นอันเสร็จการตั้งค่า JAVA_HOME

การติดตั้ง Apache Ant

1. ดาวน์โหลด Apache Ant ได้จาก http://ant.apache.org/bindownload.cgi

#cd /usr/local
#wget http://mirror.in.th/apache/ant/binaries/apache-ant-1.7.0-bin.tar.gz

2. แตกไฟล์ apache-ant-1.7.0-bin.tar.gz

#tar zxvf apache-ant-1.7.0-bin.tar.gz
#rm -rf apache-ant-1.7.0-bin.tar.gz

3. สร้าง symbolic link ให้กับ ant

#ln -s /usr/local/apache-ant-1.7.0/bin/ant /etc/alternatives/ant
#ln -s /usr/local/apache-ant-1.7.0 /etc/alternatives/anthome
#ln -s /etc/alternatives/ant /usr/bin/ant

4. กำหนดตัวแปรโกลบอล ANT_HOME เหมือนกับ Java ด้านบน

#nano /etc/profile

เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้เข้าไว้ด้านล่าง JAVA_HOME

export ANT_HOME="/etc/alternatives/anthome"

และเพิ่ม ANT_HOME เข้าไปไว้ใน PATH โดยแก้ไข

export PATH="$PATH:$JAVA_HOME/bin:$ANT_HOME"

5. logout และเข้าระบบใหม่

ตรวจสอบ ant

#ant -version
Apache Ant version 1.7.0 compiled on December 13 2006

ตรวจสอบ ANT_HOME

#echo $ANT_HOME
/etc/alternatives/anthome


เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ